ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์

คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ"

  • จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเมีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกะเจ้า ทำให้การระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลหนุน บริเวณพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า
  • ทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์มีความยาวราว 600 เมตร ซึ่งเดิมมีความตื้นเขิน ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้
  • ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • นายกอบต สมปอง รัศมีทัต เล่าถึงโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ดูเพิ่มเติม

 

ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง

        

นายกอบต สมปอง รัศมีทัต ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ คุ้งบางกะเจ้า ม.9 ต.บางยอ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ทั้งด้านการเกษตรและปศุสัตว์ เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาการเกษตรของชุมชน บนพื้นที่ 8 ไร่ ที่ใช้ทดลองเพาะพันธุ์พืช พันธุ์ไก่ แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมปศุสีตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน เพาะเห็ด และอีกมากมาย เป็นสถานที่ซึ่งเกิดจากการที่มีพระองค์ท่านเป็นแรงบันดาลใจ (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม, 2565 และได้รับการยินยอมให้เผยแพร่) เพิ่มเติม

 

 

 

 

ขอขอบคุณ...เพื่TUนผู้สนับสนุนในทุกช่วงเวลา

คุณสุภาพรรณ์ เลขาภิสิทธิ์

นักวางแผนผลิตภัณฑ์ (อิสระ)

คุณธีราวดี พริ้งศุลกะ

วิศวกร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณปานทิพย์ ทักษ์เสถียรและ

คุณรัชนีกร ใจสมุทร